Selfie ทำพิษ

0
156
หลังจากพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิในหลวง รัชกาลที่ 9 เสร็จสิ้นลง เจ้าหน้าที่ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมพระเมรุมาศทิศเหนือฝั่งหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่เปิดได้เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ก็มีอันต้องประกาศยุติลง เพราะพบพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายอย่าง มีนักศึกษาถ่าย selfie หน้าพระเมรุมาศประหนึ่งอยุู่ในงานอีเว้นท์ หรือแม้แต่ลายกนกบนองค์เทวดายังหลุดหายไป ก้อนดิน ก้อนกรวดแถวนั้น ยังถูกหยิบออกไปทั้ง ๆ ที่ทางการได้ออกมาแจ้งกฎ ข้อบังคับ สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำก่อนเข้าชมพระเมรุมาศในครั้งนี้ คิดย้อนกลับไปต้องถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กไทยสองคนนั้น

Selfie 

ภาพจาก Ellen DeGeneres twitter
นี่เป็น Selfie ที่ดังเป็นพลุแตกในงานประกาศ Oscars ในปี 2014 ซึ่งใช้เวลาแค่ 45 นาทีหลังทวีตก็มีคนรีทวีตรูปนี้เกิน 1 ล้านคน  ส่งผลให้ทวิตเตอร์ล่มไปชั่วขณะเลยทีเดียว ไม่ต่างจากรูป selfie ของน้องนักศึกษาสองคนนั้นที่ถูกคนไทยทั้งประเทศก่นด่าสารพัดเพราะได้กระทำการอันไม่เหมาะสม ไม่ถูกกาลเทศะ เมื่อโลกดิจิทัลเจริญล้ำขึ้นมาอย่างพุ่งพรวด โทรศัพท์มือถือที่แสนฉลาดเป็นเสมือนบอดี้การ์ดสามารถสร้างความสะดวกสะบาย ถ่ายรูปออกมาดูดี ถ่ายเสร็จก็อัพลง Social รัว ๆ พร้อมแฮชแทกให้โลกรู้ว่าอยู่มุมไหนเพื่อแสดงตัวตน แต่ก็นั่นแหละ แค่อยากจะบอกว่า Selfie มันมีจังหวะ เวลา ความเหมาะสมของมัน

ไม่รู้ หรือไม่ใส่ใจ

ตั้งแต่มีข่าวงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง รัชกาลที่ 9 สำนักพระราชวังได้มีประกาศให้ประชาชนงดการถ่าย Selfie และการ Live สด ในช่วงวันซ้อมและในพระราชพิธีจริงแม้แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ ยังถูกสั่งกำชับหากมิได้รับอนุญาติ จนกระทั่งมาถึงโอกาสดี ๆ ที่ประชาชนชาวไทยจะได้ชมสถาปัตยกรรมที่งดงามและสะท้อนถึงพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ และได้รวมสุดยอดช่างฝีมือทุกแขนง ที่ต่างทุ่มเทรังสรรค์งานกันสุดฝีมือเพื่อให้สมพระเกียรติและจดจารึกเป็นประวัติศาสตร์และมรดกของชาติ แต่แล้วคนไทยอีกหลายล้านคนต้องหมดโอกาสลงเพราะความไม่ใส่ใจ ความไม่ยั้งใจ คิดน้อย ด้อยประสบการณ์ของใครบางคน

Selfie กันไปทำไม

เราลองมาทำความเข้าใจน้อง ๆ สองท่านนั้นดู ข้อความอ้างอิงจาก themomentum.com ได้กล่าวไว้ว่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริกแฮมยัง สหรัฐอเมริกา ได้ตั้งคำถามว่า คนเรา selfie ไปทำไม และได้นำมาสู่งานวิจัยที่สามารถแบ่งนักเซลฟี่ออกเป็น 3 ประเภท
  1. นักสื่อสาร (Communicators) นักเซลฟีประเภทนี้คือคนที่พยายามจะเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับสังคมด้วยการเปิดบทสนทนาจากการเซลฟี ซึ่งจะนำไปสู่จุดประสงค์บางอย่างที่พวกเขาคาดหวัง มอรีน โม อลินซาโน (Maureen “Mo” Elinzano) หนึ่งในนักวิจัยอธิบายว่า “มันเป็นเรื่องของการสื่อสารแบบสองทาง” ยกตัวอย่างการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่ผ่านมาที่คนประเภทนี้จะถ่ายภาพตัวเองคู่กับสติกเกอร์  ‘I Voted’ เพื่อจุดประกายให้เกิดการถกเถียงกันเรื่องการเมือง หรือกระตุ้นให้คนอื่นๆ ออกไปเลือกตั้ง ตัวอย่างคนดังที่เป็นนักเซลฟีประเภทนี้คือ ลีโอนาโด ดิ คาปริโอ ที่มักจะถ่ายภาพตัวเองขณะทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือเลดี้กาก้า ที่มักจะเซลฟีพร้อมแคปชันรณรงค์เรื่องความเท่าเทียม และบ่งบอกจุดยืนทางการเมืองของตัวเองอย่างชัดเจน
  2. นักบันทึกอัตชีวประวัติ (Autobiographers) สำหรับคนประเภทนี้ การเซลฟีหมายถึงการบันทึกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เพื่อรวบรวมเป็นอัตชีวประวัติของตัวเองโดยมีโซเชียลมีเดียเป็นเหมือนสมุดไดอารี พวกเขาไม่ได้ต้องการสร้างบทสนทนาไม่แคร์ว่าจะมีใครมาคอมเมนต์หรือกดไลก์หรือไม่ แต่อยากจะเก็บช่วงเวลาและความทรงจำสำคัญ  ๆ ของตัวเองไว้เท่านั้นเอง สกอตต์ เคลลีย์ (Scott Kelley) นักบินอวกาศของนาซาคือตัวอย่างที่ดีของนักเซลฟีประเภทนี้ เพราะในภารกิจนอกโลกที่ผ่านมา เขาใช้อินสตาแกรมเป็นเครื่องบันทึกความทรงจำชั้นดี พร้อม บอกเล่าความเป็นไปในแต่ละวันของเขาผ่านแคปชันที่ราวกับกำลังเขียนไดอารีส่วนตัว
  3. นักประชาสัมพันธ์ตัวเอง (Self-Publicists) เมื่อเทียบกับ 2 ประเภทก่อนหน้าแล้ว นักเซลฟีประเภทนี้ถือว่ามีน้อยที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะเซลฟีเพื่อถ่ายทอดชีวิตประจำวัน โดยหวังนำเสนอว่าชีวิตตัวเองมีแต่เรื่องดีๆ และคาดหวังอย่างมากให้ผู้คนโต้ตอบกับภาพเซลฟีของตัวเอง ซึ่งตัวอย่างของคนประเภทนี้ก็ได้แก่คนดังทั้งหลาย ทั้งเทย์เลอร์ สวิฟต์ ไคลี เจนเนอร์ คิม คาร์เดเชียน ฯลฯ ซึ่งจะว่าไปก็คงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ถ้าคนยังชอบดูภาพสวยๆ งามๆ ของพวกเขาอยู่
อย่างไรก็ตามการถ่าย Selfie ไม่ใช่เรื่องผิด หากแต่ต้องมีกาลเทศะและเคารพต่อกฎ ข้อห้ามที่ทางการได้ประกาศไว้ พูดง่าย ๆ แบบประชาชนคนธรรมดา ถ้าพ่อของเราเสียชีวิต เราคงไม่อยากจะถ่าย selfie คู่กับเมรุมาศของพ่อเราใช่ไหม เราอยากระลึกถึงคุณงามความดีของพ่อ เกียรติของพ่อ ไปชื่นชมความงดงามของสถาปัตยกรรมที่ต้องใช้ฝีมือของผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ จงมองด้วยสายตาและใช้หัวใจสัมผัสแล้วจะรู้ว่า ” พระเมรุมาศ ” สวยงามและหล่อหลอมไว้ซึ่งความรักความภักดีที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ของชาวไทย.

 

ขอบคุณภาพจาก www.pexels.com

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here