หลังจากข่าวการแต่งงานของ ซงจุงกิ และ ซงฮเยคโย ที่จัดขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม 2017 ที่ผ่านมาทำเอาสาวน้อยสาวใหญ่ รวมไปถึงดาราศิลปินอย่าง โอปอล์ ปาณิสรา อารยะสกุล มีอาการอกหักอิจฉาตาร้อนผ่าว ออกมารีโพสต์ข้อความผ่านไอจีส่วนตัว พร้อมกับขึ้นแคปชั่น “เราจะต้องผ่านวันนี้ไปให้ได้/เข้มแข็งนะทุกคน”
ผ่านไปเพียงแค่ชั่วข้ามคืนหัวใจของสาวน้อยใหญ่ แฟนคลับพระเอกหนุ่มหล่ออย่าง ชาคริต แย้มนาม ประกาศเตรียมสละโสดอีกครั้งกับแฟนสาวนอกวงการในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 เคราะห์ซ้ำกรรมซัดอะไรเยี่ยงนี้ เวบไซต์คนไทยจึงอยากนำเสนอเรื่องราวความรัก และเช็คอาการอกหักในแบบวิทยาศาสตร์มาฝากกัน
เหตุแห่งรัก
แรงขับเคลื่อนที่ทำให้คน “รัก” กันนั้นมีทั้งหมด 3 แรงด้วยกันคือ
1. ตัณหา (lust)
เป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เราอยากมีความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ตัณหาหรือความใคร่นี้เกิดขึ้นในสมองจากฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน (testosterone) ทั้งในเพศชายและหญิง ความใคร่นี่เรียกว่าเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดิบที่สุด เพราะไม่มีความซับซ้อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เลย แรงขับเคลื่อนนี้วิวัฒนาการมาพร้อมกับเราเนื่องจากมีความจำเป็นต่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์
2. ความรัก (romantic love)
ยกระดับขึ้นมาจากข้อแรกหน่อย “ความรัก” ทำให้เราเลือกที่จะมีความสัมพันธ์กับคนหนึ่ง แทนที่จะมีกับทุกๆคน เช่นเดียวกับตัณหา ความรักก็วิวัฒนาการมาพร้อมกับเราเนี่ยแหละ ในมุมมองทฤษฏีวิวัฒนาการ ความรักมีประโยชน์ต่อการอยู่รอด เนื่องจากมันทำให้เราจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้มีประสิทธิภาพที่สุดเนี่ย เพื่อทุ่มเทให้กับ “รางวัล” ซึ่งก็คือการได้มีความสัมพันธ์กับคนที่เราสนใจเพื่อให้เสียทรัพยากรไปกับสิ่งรบกวนรอบข้างน้อยที่สุด ในสมองของเรามีระบบ “รางวัล” (Reward System) นี้อยู่ เวลาเรารู้สึกดีใจที่จะทำอะไรบางอย่าง สมองจะหลั่งเจ้าโดพามีน (dopamine) ออกมาเพื่อให้เราทำสิ่งนั้นอีกเมื่อมีโอกาส ขอยกตัวอย่าง สมองของฆาตกรต่อเนื่องหลั่งโดพามีนตอนพวกเขาฆ่าคน
3. ความ(รักแบบ)ผูกพัน (companionate love)
เวลาเราอยู่กับใครไปสักพักเราจะรู้สึกผูกพัน นั่นเป็นเพราะการหลั่งออกซีโตซิน (oxytocin) และวาโซเพรสซิน (vasopressin) ในช่วงที่มีความใกล้ชิดกับคู่รักนั่นเอง สัตว์ชนิดหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าออกซีโตซินนี้มีผลทำให้เกิดความผูกพันคือหนูทุ่งหญ้าแพรรี่ (Prairie Vole) หนูชนิดนี้จะอยู่กับคู่เพียงตัวเดียวตลอดชีวิต หนูชนิดนี้อกหักได้เหมือนคนเนื่องจากมี “ตัวรับ” (receptor) ของออกซีโตซินเหมือนกัน หากเราไม่มีตัวรับออกซีโตซิน เราก็จะไม่มีความรู้สึกผูกพันเกิดขึ้นกับเรา เช่นเดียวกับการทำงานของยาบางประเภทที่ปิดกั้นตัวรับฮอร์โมนบางประเภทในสมอง ทำให้เราไม่มีความรู้สึกนั้นขึ้น)
ต้นตอที่ทำให้คนอกหักจากงานวิจัยของ Dr. Helen Fisher จากมหาวิทยาลัย RUTGERS ประเทศสหรัฐอเมริกาด็อกเตอร์เฮเลนทำการวิจัยกับผู้ชายและผู้หญิงที่ชอบเพศตรงข้ามจำนวน 15 คนที่ยัง “อินเลิฟ” อยู่แต่โดนทิ้งด้วยการสแกนสมอง และเธอพบว่าเมื่อผู้เข้าทดลองเหล่านั้นดูรูปของคนที่พวกเขารัก หลายๆส่วนในสมองนั้นโดนกระตุ้นมากกว่าเมื่อดูรูปคนทั่วๆไป ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “รัก” และ “รางวัล” ก็โดนกระตุ้นด้วย และที่สำคัญอย่างยิ่งคือส่วนนิวเคลียสอะคัมเบนส์ (nucleus accumbens) และเปลือกสมองส่วนหน้า (prefrontal/orbitofrontal cortex) ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความอยากและอาการติด เช่นซึ่งคล้ายกับการติดโคเคนแล้วจะหายจากการอกหักได้อย่างไร?ด็อกเตอร์เฮเลนพบจากผู้เข้าร่วมวิจัยว่า พวกเขาจะมีอาการดีขึ้นหลังจากเวลาผ่านไปสักพัก นั่นก็หมายความว่า ต้องให้เวลากับมันสักหน่อยล่ะครับ อดทนสักพัก พยายามเก็บของต่างๆ (หรือกลิ่น) ที่ทำให้เรานึกถึงเขา/เธอไปเสียขอบคุณข้อมูลจาก martis